ประวัติหน่วยงาน

แนวทางการพัฒนาประสิทธภาพ

ต่อมาเมื่อคราวประชุมUHOSNETครั้งที่ 45 เมื่อวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2555  รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ รองเลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้นำเสนอให้มีคณะกรรมการ  UHOSNET ขึ้นใน 2 ระดับ ได้แก่

  1. คณะกรรมการอำนวยการ UHOSNET ประกอบด้วย ผู้อำนวยการของโรงพยาบาลของกลุ่มสถาบันฯเป็นสมาชิกก่อตั้งทุกสถาบัน ร่วมกับคณะทำงานในข้อ 2
  2. คณะทำงาน UHOSNET ประกอบด้วย ผู้บริหาร หรือ นักวิชาการที่เข้ามาช่วยงานของกลุ่ม

โดยให้มีการคัดเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการจากกลุ่ม โดยมีวาระคราวละ  2  ปี  ประธานของกลุ่มให้เป็นรองเลขาธิการกลุ่มสถาบันด้วยเพื่อทำหน้าที่เชื่อมประสานกับ กสพท.  คณะกรรมการอำนวยการประชุมปกติทุก 3 เดือนตามวาระการประชุมของกลุ่ม UHOSNET  คณะทำงานประชุมตามความจำเป็น ในที่ประชุมได้เลือกให้ รศ.นพ.โชคชัย เมธีไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการฯ คนแรก ในปี 2555 ต่อมาในปี 2556 รศ.นพ.โชคชัย เมธีไตรรัตน์ ได้ออกจากการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช จึงมีการเลือกประธานคณะกรรมการอำนวยการคนใหม่ เดือนสิงหาคม 2556 รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการฯคนถัดมา อีกทั้งยังได้รับการเสนอให้ดำรงตำแหน่งประธานอีกวาระหนึ่ง ในการประชุม UHOSNET ครั้งที่ 55 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 จนถึงปัจจุบัน

คณะทำงาน ได้มีการแต่งตั้งในหลายวาระ และหลายโอกาสขึ้นกับสถานการณ์ในขณะนั้นๆ ได้มีการส่งตัวแทน UHOSNET เข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการต่างๆ เพื่อร่วมกันทำงาน พลักดันนโยบายร่วมกับกองทุน กระทรวงสาธารณสุข องค์กรอิสระอื่นๆ อาทิเช่น

  1. อนุกรรมการเจรจาต่อรองราคายาและเวชภัณฑ์
  2. อนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติและยาชื่อสามัญและ คณะทำงานบัญชียา จ. 2 (คณะกรรมการบญัชียาหลักแห่งชาติ)
  3. อนุกรรมการกำหนดเวชปฏิบัติ ข้อบ่งชี้การใช้ยา การตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาพยาบาล ( กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)
  4. อนุกรรมการพัฒนาระบบตรวจสอบการรักษาพยาบาลและเบิกจ่าย คณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังสาธารณสุข(สำนักนายกรัฐมนตรี)
  5. อนุกรรมการพัฒนาบัญชียาและรหัสยามาตรฐาน  เพื่อสนับสนุนการบริหารเวชภัณฑ์
  6. อนุกรรมการพัฒนากลไกการจ่ายเงินผู้ป่วยตาม DRG
  7. อนุกรรมการข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ  (สำนักนายกรัฐมนตรี)
  8. คณะกรรมการในคณะอนุกรรมการชุดต่างๆในสำนักงานประกันสังคม
  9. คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดกิารค่ารักษาข้าราชการ คณะอนุกรรมการมาตรฐานการรักษาพยาบาลและการจ่ายเงิน (กระทรวงการคลัง)
  10. คณะกรรมการ service plan ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
  11. คณะอนุกรรมการชุดต่างๆในเรื่องการขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Rational Drug Used)
  12. คณะกรรมการจัดทำตัวชี้วัดคุณภาพโรงพยาบาลประเทศไทย (Thailand Hospital Indicator Project) หรือTHIP ร่วมกับสรพ.
สถาบันที่เป็นสมาชิกก่อตั้งUHOSNET
  1. โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  3. โรงพยาบาลรามาธิบดี
  4. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
  5. โรงพยาบาลศรีนครินทร์
  6. โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  7. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  8. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
  9. โรงพยาบาลราชวิถีกรมการแพทย์
  10. โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
  11. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  12. ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวร
  13. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
สถาบันนอกจากนี้ จัดเป็นสถาบันสมทบUHOSNET
  1. โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา
  2. โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  3. โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
  4. โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  5. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า (คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม)
  6. สำนักวิชาการแพทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  7. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  8. โรงพยาบาลกลาง
  9. ศูยน์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน
  10. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
วิเคราะห์จุดแข็งของUHOSNET
  1. มีความร่วมมือร่วมใจ ไว้วางใจ เปิดใจช่วยเหลือกันในกลุ่มสมาชิก
  2. สมาชิกมีประสบการณ์ที่หลากหลาย มีบุคลากรในสังกัดที่มีความสามารถ ระดับชาติเข้ามาช่วยเหลือกัน และผู้บริหารแต่ละสถาบันพร้อมจะร่วมมือ
  3. สถาบันในส่วนกลางช่วยเอื้อเฟื้อ เป็นตัวแทนของกลุ่ม เข้าร่วมประชุม ประสานงานเชื่อมกลุ่มกับแหล่งกองทุนจ่ายเงินและผู้กำหนดนโยบาย ทำ ให้ สถาบันในภูมิภาคได้รับการประสานงานและข่าวสารที่เร็วขึ้น
  4. กลุ่ม UHOSNET ได้รับความไว้วางใจ ตลอดจนความคาดหวังจากสถาบัน สมาชิก  และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเรื่อย ๆ
  5. มีจุดยืนทีใช้หลักวิชาการมุ่งประโยชน์ของส่วนรวม สังคม ประเทศชาติ ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง
วิเคราะห์ข้อจำกัด และโอกาสพัฒนาของUHOSNET
  1. การเปลี่ยนแปลงจากภายนอกรวดเร็ว สมาชิกตามไม่ทัน ทั้งด้านกรอบ แนวคิดและเทคนิคปฏิบัติโดยเฉพาะวิธีการจ่ายเงินให้กับโรงพยาบาล
  2. ผู้บริหารแต่ละสถาบันมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลหมุนเวียนอยู่ตลอด
  3. งานพัฒนาโครงการ่วมกันของกลุ่มเดินได้ช้า
  4. การประชุมแต่ละครั้งนับเป็น COP ที่เข้มแข็งที่สุดระดับประเทศ แต่การรวบรวม knowledge asset โดยเฉพาะ tacit ยังขาดประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้การสื่อขยายผลใช้ประโยชน์ตลอดจนการสะสมภูมิปัญญาเหล่านี้ทำได้ไม่ดีพอ
  5. ขาดสำนักงาน (back office) เจ้าหน้าที่ประจำ เพื่อทำงานธุรการและสนับสนุน กิจกรรมของกลุ่มที่ต้องการการประสานงานเพื่อเชื่อมโยงกันมากขึ้น
ผลที่คาดหวังของโครงการ  UHOSNET 
  1. เครือข่ายมีศักยภาพมากขึ้น
  2. มีระบบเอกสาร ฐานข้อมูล ฐานความรู้  ถูกจัดเก็บและเผยแพร่เป็น ประโยชน์มากขึ้น
  3. เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารเชื่อมโยงภายใน สามารถประสาน สนับสนุนโครงการความร่วมมือของเครือข่าย
  4. เป็นตัวแทนของกลุ่มสถาบันในการทำงานร่วมกับองค์กรภายนอกจนสามารถพลักดันเป็นนโยบายระดับประเทศ
  5. มีรูปแบบการจัดการองค์กรที่คล่องตัว มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนา ผู้นำซึ่งจะเป็นผู้เชื่อมโยงกลุ่มให้เกิดความเข้มแข็งต่อเนื่อง
เครือข่ายความร่วมมือ

สปสช. สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง  คณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ  สถาบันผลิตแพทย์เพิ่มฯ กระทรวงสาธารณสุข  สช. สวรส. สวปก. สกส. ศรท. สมสท.กพย.พรพ. องค์กรอิสระ และภาคประชาชนต่างๆ