แนวทางการพัฒนาประสิทธภาพ
ต่อมาเมื่อคราวประชุมUHOSNETครั้งที่ 45 เมื่อวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2555 รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ รองเลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้นำเสนอให้มีคณะกรรมการ UHOSNET ขึ้นใน 2 ระดับ ได้แก่
- คณะกรรมการอำนวยการ UHOSNET ประกอบด้วย ผู้อำนวยการของโรงพยาบาลของกลุ่มสถาบันฯเป็นสมาชิกก่อตั้งทุกสถาบัน ร่วมกับคณะทำงานในข้อ 2
- คณะทำงาน UHOSNET ประกอบด้วย ผู้บริหาร หรือ นักวิชาการที่เข้ามาช่วยงานของกลุ่ม
โดยให้มีการคัดเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการจากกลุ่ม โดยมีวาระคราวละ 2 ปี ประธานของกลุ่มให้เป็นรองเลขาธิการกลุ่มสถาบันด้วยเพื่อทำหน้าที่เชื่อมประสานกับ กสพท. คณะกรรมการอำนวยการประชุมปกติทุก 3 เดือนตามวาระการประชุมของกลุ่ม UHOSNET คณะทำงานประชุมตามความจำเป็น ในที่ประชุมได้เลือกให้ รศ.นพ.โชคชัย เมธีไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการฯ คนแรก ในปี 2555 ต่อมาในปี 2556 รศ.นพ.โชคชัย เมธีไตรรัตน์ ได้ออกจากการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช จึงมีการเลือกประธานคณะกรรมการอำนวยการคนใหม่ เดือนสิงหาคม 2556 รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการฯคนถัดมา อีกทั้งยังได้รับการเสนอให้ดำรงตำแหน่งประธานอีกวาระหนึ่ง ในการประชุม UHOSNET ครั้งที่ 55 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 จนถึงปัจจุบัน
คณะทำงาน ได้มีการแต่งตั้งในหลายวาระ และหลายโอกาสขึ้นกับสถานการณ์ในขณะนั้นๆ ได้มีการส่งตัวแทน UHOSNET เข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการต่างๆ เพื่อร่วมกันทำงาน พลักดันนโยบายร่วมกับกองทุน กระทรวงสาธารณสุข องค์กรอิสระอื่นๆ อาทิเช่น
- อนุกรรมการเจรจาต่อรองราคายาและเวชภัณฑ์
- อนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติและยาชื่อสามัญและ คณะทำงานบัญชียา จ. 2 (คณะกรรมการบญัชียาหลักแห่งชาติ)
- อนุกรรมการกำหนดเวชปฏิบัติ ข้อบ่งชี้การใช้ยา การตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาพยาบาล ( กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)
- อนุกรรมการพัฒนาระบบตรวจสอบการรักษาพยาบาลและเบิกจ่าย คณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังสาธารณสุข(สำนักนายกรัฐมนตรี)
- อนุกรรมการพัฒนาบัญชียาและรหัสยามาตรฐาน เพื่อสนับสนุนการบริหารเวชภัณฑ์
- อนุกรรมการพัฒนากลไกการจ่ายเงินผู้ป่วยตาม DRG
- อนุกรรมการข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
- คณะกรรมการในคณะอนุกรรมการชุดต่างๆในสำนักงานประกันสังคม
- คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดกิารค่ารักษาข้าราชการ คณะอนุกรรมการมาตรฐานการรักษาพยาบาลและการจ่ายเงิน (กระทรวงการคลัง)
- คณะกรรมการ service plan ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
- คณะอนุกรรมการชุดต่างๆในเรื่องการขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Rational Drug Used)
- คณะกรรมการจัดทำตัวชี้วัดคุณภาพโรงพยาบาลประเทศไทย (Thailand Hospital Indicator Project) หรือTHIP ร่วมกับสรพ.
สถาบันที่เป็นสมาชิกก่อตั้งUHOSNET
- โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- โรงพยาบาลรามาธิบดี
- โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
- โรงพยาบาลศรีนครินทร์
- โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
- โรงพยาบาลราชวิถีกรมการแพทย์
- โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
- สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
- ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวร
- โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
สถาบันนอกจากนี้ จัดเป็นสถาบันสมทบUHOSNET
- โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา
- โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
- โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า (คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม)
- สำนักวิชาการแพทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
- โรงพยาบาลกลาง
- ศูยน์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน
- ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
วิเคราะห์จุดแข็งของUHOSNET
- มีความร่วมมือร่วมใจ ไว้วางใจ เปิดใจช่วยเหลือกันในกลุ่มสมาชิก
- สมาชิกมีประสบการณ์ที่หลากหลาย มีบุคลากรในสังกัดที่มีความสามารถ ระดับชาติเข้ามาช่วยเหลือกัน และผู้บริหารแต่ละสถาบันพร้อมจะร่วมมือ
- สถาบันในส่วนกลางช่วยเอื้อเฟื้อ เป็นตัวแทนของกลุ่ม เข้าร่วมประชุม ประสานงานเชื่อมกลุ่มกับแหล่งกองทุนจ่ายเงินและผู้กำหนดนโยบาย ทำ ให้ สถาบันในภูมิภาคได้รับการประสานงานและข่าวสารที่เร็วขึ้น
- กลุ่ม UHOSNET ได้รับความไว้วางใจ ตลอดจนความคาดหวังจากสถาบัน สมาชิก และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเรื่อย ๆ
- มีจุดยืนทีใช้หลักวิชาการมุ่งประโยชน์ของส่วนรวม สังคม ประเทศชาติ ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง
วิเคราะห์ข้อจำกัด และโอกาสพัฒนาของUHOSNET
- การเปลี่ยนแปลงจากภายนอกรวดเร็ว สมาชิกตามไม่ทัน ทั้งด้านกรอบ แนวคิดและเทคนิคปฏิบัติโดยเฉพาะวิธีการจ่ายเงินให้กับโรงพยาบาล
- ผู้บริหารแต่ละสถาบันมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลหมุนเวียนอยู่ตลอด
- งานพัฒนาโครงการ่วมกันของกลุ่มเดินได้ช้า
- การประชุมแต่ละครั้งนับเป็น COP ที่เข้มแข็งที่สุดระดับประเทศ แต่การรวบรวม knowledge asset โดยเฉพาะ tacit ยังขาดประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้การสื่อขยายผลใช้ประโยชน์ตลอดจนการสะสมภูมิปัญญาเหล่านี้ทำได้ไม่ดีพอ
- ขาดสำนักงาน (back office) เจ้าหน้าที่ประจำ เพื่อทำงานธุรการและสนับสนุน กิจกรรมของกลุ่มที่ต้องการการประสานงานเพื่อเชื่อมโยงกันมากขึ้น
ผลที่คาดหวังของโครงการ UHOSNET
- เครือข่ายมีศักยภาพมากขึ้น
- มีระบบเอกสาร ฐานข้อมูล ฐานความรู้ ถูกจัดเก็บและเผยแพร่เป็น ประโยชน์มากขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารเชื่อมโยงภายใน สามารถประสาน สนับสนุนโครงการความร่วมมือของเครือข่าย
- เป็นตัวแทนของกลุ่มสถาบันในการทำงานร่วมกับองค์กรภายนอกจนสามารถพลักดันเป็นนโยบายระดับประเทศ
- มีรูปแบบการจัดการองค์กรที่คล่องตัว มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนา ผู้นำซึ่งจะเป็นผู้เชื่อมโยงกลุ่มให้เกิดความเข้มแข็งต่อเนื่อง
เครือข่ายความร่วมมือ
สปสช. สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง คณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ สถาบันผลิตแพทย์เพิ่มฯ กระทรวงสาธารณสุข สช. สวรส. สวปก. สกส. ศรท. สมสท.กพย.พรพ. องค์กรอิสระ และภาคประชาชนต่างๆ