Nurse – Pain

ประวัติ KPI Painชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล


ชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล ได้จัดตั้งคณะกรรมการตัวชี้วัด Pain management ในปี 2550 การพัฒนางานและดำเนินงานของคณะกรรมการตัวชี้วัด Pain management แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1การพัฒนาตัวชี้วัดการจัดการความปวดเฉียบพลัน (Acute pain management )
ปีพ.ศ. 2550 คณะกรรมการตัวชี้วัด Pain management ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการตัวชี้วัดการจัดการความปวดเฉียบพลัน (Acute pain management ) พร้อมพัฒนาตัวชี้วัดและแบบเก็บข้อมูลของการจัดการความปวดเฉียบพลัน(Acute pain management ) เพื่อการเทียบเคียงและและเปลี่ยนเรียนรู้ในชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล โดยกำหนดตัวชี้วัดครั้งแรก คือ
อัตราความพึงพอใจของผู้ป่วยผ่าตัดต่อการจัดการความปวด (Pain satisfaction)
อัตราการบันทึก Pain score อย่างน้อย 3 ครั้งใน 24 ชั่วโมง (เวรละ 1 ครั้ง)
ทำการเทียบเคียง Acute pain management ครั้งแรกปี 2552 มีโรงพยาบาลที่ร่วมเทียบเคียง 11โรงพยาบาล ปี 2553 ได้นำผลการเทียบเคียงของการจัดการความปวดเฉียบพลัน 16 โรงพยาบาล มาทำการวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการความปวดในโรงพยาบาลเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล”
ระยะที่ 2การพัฒนาตัวชี้วัดการจัดการความปวด (มะเร็ง) (Cancer pain management)
ปีพ.ศ. 2551 คณะกรรมการตัวชี้วัด Pain management ได้ดำเนินการขอจัดตั้งคณะกรรมการตัวชี้วัดการจัดการความปวด (มะเร็ง) (Cancer pain management) พัฒนาตัวชี้วัดและแบบเก็บข้อมูลของการจัดการความปวด (มะเร็ง) (Cancer pain management) เพื่อการเทียบเคียงและเปลี่ยนเรียนรู้ในชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล โดยกำหนดตัวชี้วัด คือ
อัตราความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งต่อการจัดการความปวด (Pain satisfaction)
อัตราการบันทึก Pain score อย่างน้อย 3 ครั้งใน 24 ชั่วโมง (เวรละ 1 ครั้ง)
ทำการเทียบเคียง Cancer pain management ครั้งแรกปี 2552 มีโรงพยาบาลที่ร่วมเทียบเคียง 3 โรงพยาบาล และครั้งที่ 2 ปี 2553 มีโรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วมเทียบเคียงเพิ่มขึ้นเป็น 7 โรงพยาบาล ได้มีการพัฒนาตัวชี้วัดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมกำหนดการนำผลที่ได้มาเทียบเคียงกับโรงพยาบาลในชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาลดังนี้
– ตัวชี้วัดการจัดการความปวดเฉียบพลัน เทียบเคียงทุก 2 ปี ปีที่ลงท้ายด้วยเลขคู่
– ตัวชี้วัดการจัดการความปวด (มะเร็ง)เทียบเคียงทุก 2 ปี ปีที่ลงท้ายด้วยเลขคี่
ระยะที่ 3 การพัฒนาตัวชี้วัดการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็ก (Pediatric pain management)

ปีพ.ศ. 2559 คณะกรรมการตัวชี้วัด Pain management ได้ดำเนินการขอจัดตั้งคณะกรรมการตัวชี้วัดการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็ก (Pediatric pain management)พัฒนาตัวชี้วัดและแบบเก็บข้อมูลของการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็ก (Pediatric pain management) เพื่อการเทียบเคียงและเปลี่ยนเรียนรู้ในชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล

ในปัจจุบันคณะกรรมการตัวชี้วัด Pain management ได้มีการพัฒนางานด้านการจัดการความปวดในชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล แบ่งเป็น 3 คณะกรรมการย่อยคือ
คณะกรรมการตัวชี้วัดการจัดการความปวดเฉียบพลัน (Acute pain management ) จำนวนสมาชิก35 ท่าน จาก24โรงพยาบาลในชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล
คณะกรรมการตัวชี้วัดการจัดการความปวด (มะเร็ง) (Cancer pain management)จำนวนสมาชิก36 ท่านจาก25 โรงพยาบาลในชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล
คณะกรรมการตัวชี้วัดการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็ก (Pediatric pain management) จำนวนสมาชิก 34 ท่าน จาก 23โรงพยาบาลในชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล

ผลงาน
พัฒนางานด้านการจัดการความปวดในชมรมเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล
งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการความปวดในโรงพยาบาลเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล”
ผลักดันNursing Outcome : Pain management satisfactionเข้าสู่ THIP